วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“ให้ทุกคนเข้าใจให้ชัดว่าการทำหน้าที่ของทหารให้บรรลุประสิทธิผลทั้งด้านยุทธการ ทั้งด้านการปฏิบัติพัฒนาให้เกิดความเจริญมั่นคงในชาตินั้น ข้อแรกจะต้องมีความจงรักและยึดมั่นในชาติบ้านเมือง ต้องมุ่งมั่นที่จะปกป้องรักษาและธำรงอิสรภาพอธิปไตยไว้ทุกเมื่อ ด้วยสติปัญญา ความสามารถและชีวิต ความยึดมั่นดังนี้จะเป็นเครื่องป้องกันตน ให้พ้นอันตรายจากความชั่ว  ความทุจริตทั้งหมด  และจะเป็นพลังแรงส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปในหน้าที่ราชการ  ข้อสอง เมื่อจะทำการใด ต้องตั้งใจทำให้จริง ด้วยความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจ มุ่งถึงผลอันเป็นประโยชน์พึงประสงค์ของการนั้นเป็นสำคัญ  ข้อสาม ต้องใช้หลักวิชา ใช้เหตุผล ความถูกต้องและความคิดไตร่ตรองที่บริบูรณ์ด้วยสติและปัญญา เป็นเครื่องวินิจฉัยตัดสินปัญหาและชี้นำแนวทางปฏิบัติอยู่เสมอ  ข้อสี่ ต้องถือว่างานทุกด้าน ทุกสิ่ง สัมพันธ์พึ่งพิงกันและกันอยู่ จึงจำเป็นต้องร่วมมือประสานประโยชน์กับทุกฝ่ายทุกคน ด้วยความเฉลียวฉลาดและเมตตาปรองดองกัน  ทั้งนี้ข้อนี้เป็นสิ่งที่จะขอให้นำไปพิจารณาให้ประจักษ์แก่ใจ แล้วถือเป็นวินัยประจำตัว ควบคู่กับวินัยทหาร เชื่อว่าจะคุ้มครองทุกคนให้สวัสดีและบันดาลให้ประสบความสำเร็จ ความเจริญ พร้อมด้วยเกียรติ ด้วยศักดิ์ศรี และอำนาจบารมีทุก ๆ ประการ”พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า    ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๓

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช ๒๕๕๘ ณ วัดอรุณราชวราราม

วันนี้ (๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘) เวลา ๑๖.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร    เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในการนี้ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ  ผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะนายทหาร  ชั้นผู้ใหญ่ เฝ้า ฯ รับ – ส่งเสด็จทั้งนี้ ในการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี เรียกว่า “พระกฐินหลวง” ประกอบด้วย พระกฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี, พระกฐินต้น และพระกฐินพระราชทาน โดย “พระกฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี” พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงสำคัญ ปัจจุบันมีจำนวน ๑๖ พระอาราม คือ ในกรุงเทพมหานคร ๑๒ พระอาราม อาทิ วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโอรสาราม ส่วนในต่างจังหวัด ๔ พระอาราม เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ “พระกฐินพระราชทาน” เป็นพระกฐินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน เพื่อเชิญไปถวายยังพระอารามหลวง นอกเหนือจากพระอารามหลวง ๑๖ พระอารามดังกล่าว (ที่มา : สลก.ทร.)

กองทัพเรือ เตรียมจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเนื่องในวันลอยกระทง ประจำปี ๒๕๕๘

วันลอยกระทงของทุกปี จะมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน จัดกิจกรรมเพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและมีการสัญจรของเรือท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่บางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ ได้แก่ พื้นที่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า – สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน, พื้นที่ระหว่างบางนา – พระประแดง และพื้นที่ระหว่าง โรงเรียนนายเรือ – อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ   ดังนั้น กองทัพเรือ โดย กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบทางน้ำเนื่องในวันลอยกระทง    โดยจัดกำลังพลและเรือจำนวนหนึ่ง พร้อมเรือพยาบาล โดยมีการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจในพื้นที่รับผิดชอบประชาชนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือกับทางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเนื่องในวันลอยกระทง ได้ที่ หมวดเรือที่ ๓ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ พระนิเวศน์ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๓๐๙๓, ๐ ๒๔๑๒ ๖๙๖๓, ๐๘๑ ๘๓๕ ๖๕๙๓ หรือสายด่วน ๑๖๙๖ (ที่มา : ยก.ทร.)
วัน ลอยกระทงของทุกปี จะมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน จัดกิจกรรมเพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและมีการ สัญจรของเรือท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่บางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ ได้แก่ พื้นที่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า – สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน, พื้นที่ระหว่างบางนา – พระประแดง และพื้นที่ระหว่าง โรงเรียนนายเรือ – อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ   ดังนั้น กองทัพเรือ โดย กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบทางน้ำเนื่องในวันลอยกระทง    โดยจัดกำลังพลและเรือจำนวนหนึ่ง พร้อมเรือพยาบาล โดยมีการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ 
ประชาชนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือกับทางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เนื่องในวันลอยกระทง ได้ที่ หมวดเรือที่ ๓ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ พระนิเวศน์ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๓๐๙๓, ๐ ๒๔๑๒ ๖๙๖๓, ๐๘๑ ๘๓๕ ๖๕๙๓ หรือสายด่วน ๑๖๙๖ (ที่มา : ยก.ทร.)
- See more at: http://www.sctr.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3532#sthash.3KWsh3RO.dpuf

เวียดนามรับมอบเรือจากญี่ปุ่น ๒ ลำ

เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ มีรายงานว่า เวียดนามรับมอบเรือจากญี่ปุ่น จำนวน ๒ ลำ ที่ท่าเรือดานัง ทั้งนี้ ญี่ปุ่นสัญญาจะให้เรือประมงแก่เวียดนาม จำนวน ๖ ลำ เพื่อดัดแปลงไปใช้สำหรับลาดตระเวนในทะเลจีนใต้ รวมทั้งตกลงจะจัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีให้เวียดนามด้วย  ทั้งนี้ การส่งมอบเรือของญี่ปุ่นมีขึ้นในห้วงเดียวกับที่สหรัฐ ฯ ประกาศจะมอบเรือให้แก่เวียดนามอย่างน้อย ๕ ลำ เพื่อนำไปใช้ในหน่วยยามฝั่งของเวียดนาม (ที่มา : ขว.ทร.)

กำหนดเสนอรายงานการสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาล ในเวลาราชการ โดยทุนส่วนตัว ส่งให้ กรมกำลังพลทหารเรือ ภายใน ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘


กรมกำลังพลทหารเรือ แจ้งการไปสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาล ในเวลาราชการ โดยทุนส่วนตัว ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาล พุทธศักราช ๒๔๙๗ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ได้วางระเบียบเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ และคำชี้แจงกองทัพเรือ ที่ ๘/๒๕๐๘ เรื่อง การขออนุญาตให้ข้าราชการไปศึกษานอกหน่วยกองทัพเรือ โดยผู้มีความประสงค์จะไปศึกษาโดยทุนส่วนตัวต้องเสนอขออนุญาตสมัครเข้าศึกษาเสียก่อน พร้อมทั้งแจ้งหลักสูตรและสถานศึกษา กำหนดระยะเวลาการศึกษาตามลำดับชั้นถึงกองทัพเรือ ซึ่งกองทัพเรือจะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่า ๓ นาย พิจารณาความเหมาะสมในการขออนุญาตไปสมัครเข้าศึกษา เมื่อกองทัพเรืออนุญาตให้ไปศึกษาแล้ว จึงไปสมัครเข้าศึกษาหรือสอบคัดเลือกได้ และเมื่อผ่านการสอบคัดเลือกให้เข้าศึกษาแล้ว ให้เสนอรายงานตามลำดับชั้นเพื่อขออนุญาตลาไปศึกษาถึงกองทัพเรืออีกครั้งผู้ที่ประสงค์จะไปสมัครสอบคัดเลือก ฯ กรุณากรอกรายละเอียดตามแบบรายงานการขออนุญาตไปสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในเวลาราชการ โดยทุนส่วนตัวให้ครบถ้วนทั้งระบุสาขาวิชาและสถานศึกษาที่จะไปสมัครสอบ เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น พร้อมทั้งรายชื่อกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการไปสมัครสอบคัดเลือก ฯ ของหน่วย สาขาวิชาละ ๒ นาย ส่งให้กรมกำลังพลทหารเรือ ภายในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการรายงานได้ที่ www.navy.mi.th/person ศูนย์ความรู้ด้านกำลังพล/กองการศึกษา/ดาวน์โหลด/เอกสาร/คู่มือ/แบบฟอร์มกองการศึกษา (ที่มา : กพ.ทร.)

บทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรม เรื่อง “ความสำคัญของวันลอยกระทง”



กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กำลังพลได้ทราบถึงหลักธรรมในการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท สำหรับในวันนี้นำเสนอเรื่อง “ความสำคัญของวันลอยกระทง”มีคำคมที่กล่าวกันว่า “ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ” หากถามว่า อะไรเป็นลายของไทยคำตอบที่ถูกต้องก็คือ “วัฒนธรรมประเพณีไทย” นั่นเองเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นลายของไทยการลอยกระทง จัดว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย ประการหนึ่ง ซึ่งประชาชนคนไทยได้อนุรักษ์และสืบสานต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จวบจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ๆ ดังนี้๑. เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย และบูชาพระมหาจุฬามณี อันเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีของพระพุทธเจ้า ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์๒. เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อแม่น้ำที่ได้ใช้อุปโภคมาทั้งชีวิต และขอขมาโทษที่มนุษย์ได้ล่วงเกินด้วยการทิ้งสิ่งปฏิกูลโสโครก ลงในแม่น้ำ ทำให้น้ำสกปรก๓. เพื่อลอยบาปเคราะห์ ทุกข์ โศก โรค ภัย และสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ให้พ้นออกไปจากตัว ฝากไปกับกระทงนั้น๔. เพื่อเป็นการเสริมสร้างศิลปะอันเกิดจากการประดิษฐ์กระทง และเสริมสร้างความรู้รักสามัคคีปรองดองของคนในชีวิต เช่น มีการประกวดนางนพมาศ เป็นต้น๕. เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวและความรื่นเริงสนุกสนาน ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น มีการแข่งเรือและประกวดโคมไฟ เป็นต้น๖. เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของชาติ ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไปดังนั้น วันลอยกระทงปีนี้ จึงสมควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป ดังคำขวัญที่ว่า “อยากให้ไทยคงเป็นไทย อย่าทำลายวัฒนธรรม การทำลายวัฒนธรรมคือการทำลายชาติ และการรักษาวัฒนธรรมก็คือ การรักษาชาติ” (ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)