วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“การที่จะให้งานประสานกันนั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า ทุกฝ่ายจะต้องไม่แบ่งแยกกัน ไม่แย่งประโยชน์ ไม่แย่งความชอบกัน แต่ละฝ่ายแต่ละคนต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลสำเร็จในการงานเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น ความบริสุทธิ์ใจ และความมุ่งหมายอันเที่ยงตรงเป็นอย่างเดียวกันนั้น จะทำให้เข้าใจกันได้ ผู้ใดมีหน้าที่และความสามารถอย่างไร ก็จะทำตามหน้าที่และความสามารถอย่างนั้น ให้ประสานสอดคล้องกันได้โดยอัตโนมัติ ความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จก็จะบังเกิดตามมา”  พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒

กองทัพเรือ ร่วมกับกองทัพเรือสิงคโปร์ กำหนดทำการฝึกผสม SINGSIAM ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๕๘

กองทัพเรือ โดย กองเรือฟริเกตที่ ๒ กองเรือยุทธการ ร่วมกับกองทัพเรือสิงคโปร์ กำหนด ทำการฝึกผสม SINGSIAM ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ บริเวณช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การฝึกผสม SINGSIAM ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๑๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในการปฏิบัติการร่วมกัน ระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือสิงคโปร์ ซึ่งการจัดกำลังเข้าร่วมฝึกเป็นไปตามนโยบายของกองทัพเรือ โดยจะทำการฝึกปีเว้นปีผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับการฝึกผสมในครั้งนี้ มี กองทัพเรือสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพ แบ่งการฝึกเป็น ๓ ห้วง โดยกำหนดพิธีเปิดและการฝึกในท่า ที่ ฐานทัพเรือชางงี สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๑ ถึง ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และการฝึกในทะเลพื้นที่ฝึก บริเวณช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน ระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และปิดท้ายด้วยการสรุปผลการฝึก และพิธีปิดการฝึก ณ กองบัญชาการทัพเรือที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สำหรับกำลังที่เข้าร่วมการฝึก ฝ่ายไทย ประกอบด้วย   เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสายบุรี เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ จำนวน ๒ ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน จำนวน ๑ ลำ มี นาวาเอก ประสาทพร สาทรสวัสดิ์  เสนาธิการกองเรือฟริเกตที่ ๒ กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึก ส่วนกำลังฝ่ายกองทัพเรือสิงคโปร์ ประกอบด้วย เรือ RSB INTREPID, RSS VIGOUR, RSB ARCHER (เรือดำน้ำ) และ เฮลิคอปเตอร์ S-708 SEA HAWK จำนวน ๑ ลำ (ที่มา : กฟก.๒ กร.)
กอง ทัพเรือ โดย กองเรือฟริเกตที่ ๒ กองเรือยุทธการ ร่วมกับกองทัพเรือสิงคโปร์ กำหนด ทำการฝึกผสม SINGSIAM ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ บริเวณช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน
การฝึกผสม SINGSIAM ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๑๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมการ ฝึก รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในการปฏิบัติการร่วมกัน ระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือสิงคโปร์ ซึ่งการจัดกำลังเข้าร่วมฝึกเป็นไปตามนโยบายของกองทัพเรือ โดยจะทำการฝึกปีเว้นปีผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับการฝึกผสมในครั้งนี้ มี กองทัพเรือสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพ แบ่งการฝึกเป็น ๓ ห้วง โดยกำหนดพิธีเปิดและการฝึกในท่า ที่ ฐานทัพเรือชางงี สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๑ ถึง ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และการฝึกในทะเลพื้นที่ฝึก บริเวณช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน ระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และปิดท้ายด้วยการสรุปผลการฝึก และพิธีปิดการฝึก ณ กองบัญชาการทัพเรือที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
สำหรับกำลังที่เข้าร่วมการฝึก ฝ่ายไทย ประกอบด้วย   เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงสายบุรี เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ จำนวน ๒ ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน จำนวน ๑ ลำ มี นาวาเอก ประสาทพร สาทรสวัสดิ์  เสนาธิการกองเรือฟริเกตที่ ๒ กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึก ส่วนกำลังฝ่ายกองทัพเรือสิงคโปร์ ประกอบด้วย เรือ RSB INTREPID, RSS VIGOUR, RSB ARCHER (เรือดำน้ำ) และ เฮลิคอปเตอร์ S-708 SEA HAWK จำนวน ๑ ลำ (ที่มา : กฟก.๒ กร.)
- See more at: http://www.sctr.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3441#sthash.z0U8DXMT.dpuf

ขอเชิญชมการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยพรีเมียร์ลีก ๒๐๑๕ ระหว่าง ทีมราชนาวี เอฟซี กับ เชียงราย ยูไนเต็ด ใน ๒๘ ตุลาคม นี้

กองทัพเรือ ขอเชิญชมและร่วมเป็นกำลังใจให้แก่นักกีฬาฟุตบอลทีมราชนาวีในการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยพรีเมียร์ลีก ๒๐๑๕ นัดที่ ๒๘ ระหว่างทีมราชนาวี เอฟซี พบกับ ทีมเชียงราย ยูไนเต็ด ณ สนามยูไนเต็ด สเตเดี้ยม จังหวัดเชียงราย ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๐ น. (ที่มา : สโมสรฟุตบอลราชนาวี)

บทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรม เรื่อง “ยันต์กันผี”

กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กำลังพลได้ทราบถึงหลักธรรมในการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท สำหรับในวันนี้นำเสนอเรื่อง “ยันต์กันผี” มีความเชื่อกันว่า ผีเป็นสิ่งที่ลึกลับ มองไม่เห็นตัว มีทั้งดีและร้าย อาจให้คุณหรือโทษแก่คนได้ และโดยปริยาย ผี หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เหตุนั้นในหมู่คนที่เชื่อเรื่องผี จึงนิยมนำแผ่นผ้าลงอักขระภาษาขอมไปติดไว้เหนือประตูทางเข้าบ้านเรือน เพื่อใช้เป็นยันต์กันผี มิให้เข้าไปทำร้ายคนในบ้าน ผีตามความเชื่อจะมีจริงหรือไม่ คงหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ยาก แต่ที่ยืนยันได้อย่างแน่นอน ก็คือ ผีโดยปริยายที่หมายถึงสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นผีในชีวิตจริง ซึ่งในปัจจุบันมีมาก เช่น บุหรี่ เป็นต้น ที่ทำให้คนสูบได้รับพิษ คนใกล้ชิดได้รับภัย ข้อนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากนัก เพราะมีหลักฐานที่เป็นหลักคำสอนในทางศาสนาที่สอนว่าสิ่งเสพติดให้โทษเป็นอบายมุข เป็นหนทางนำชีวิตไปสู่ความเสื่อม หลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า สูบบุหรี่เป็นสาเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดลมอักเสบ แก่เร็ว ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น และหลักฐานรายงานจากองค์การอนามัยโลกที่เคยระบุว่า ปัจจุบันมีประชากรโลกเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ ๕ ล้านคน หรือคิดเฉลี่ยเสียชีวิต ๑ คน ในทุก ๆ ๖ วินาที  ดังนั้น ในช่วงเวลา ๒ นาที ที่รับฟังบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเรื่องนี้จบลง มีผู้เสียชีวิตจากพิษภัยบุหรี่จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักในพิษภัยของผีชนิดนี้มากขึ้น มีการออกกฎหมายกำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ไว้อย่างชัดเจน มีการนำสติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ไปติดไว้ตามประตูที่ทำงานบ้าง สาธารณสถานต่าง ๆ บ้าง เพื่อเป็นการห้ามสูบบุหรี่ในที่นั้น ๆ หรือบอกใบ้ให้รู้ว่า ที่นั้น ๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งถ้าพิจารณาในแนวคิดทางธรรมแล้ว สติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ ก็คล้าย ๆ กับยันต์กันผีที่ช่วยป้องกันโทษซึ่งมิใช่เฉพาะแก่ผู้สูบเท่านั้น แต่แก่คนรอบข้างเขาด้วย  อย่างไรก็ตาม สติ๊กเกอร์ดังกล่าว อาจไม่มีผลถ้าคนคิดจะสูบเสียอย่าง เว้นแต่ว่าจะติดให้หนักแน่นที่ใจคนสูบเท่านั้น จึงจะเห็นผลได้อย่างแท้จริง (ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)

แนวทางการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินตามหลักปฏิบัติสากล

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ย้ำเตือนสำหรับแนวทางการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินตามหลักปฏิบัติสากล ดังนี้ - เมื่อประชาชนเห็นสัญญาณไฟและได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนก็มักจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นก่อนอื่นผู้ขับขี่ควรตั้งสติ  - พยายามมองกระจกหลังเพื่อกะระยะของรถพยาบาลที่วิ่งมา - เมื่อพิจารณาปริมาณรถทั้งซ้ายและขวาที่อยู่ใกล้แล้วพบว่าไม่มีอันตรายและเราสามารถเบี่ยงชิดซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถและเบี่ยงซ้ายเพื่อหลีกทางให้รถพยาบาลทันที - หากไม่สามารถหลีกทางได้ด้วยเพราะสภาพรถที่หนาแน่นและมีอันตรายก็ให้หยุดหรือชะลอรถเพื่อให้รถพยาบาลหาทางวิ่งผ่านเราไปให้ได้ - เมื่อรถพยาบาลวิ่งผ่านไปแล้วห้ามขับตามเด็ดขาด - กรณีรถติดและรถพยาบาลอยู่ด้านหลังพอดีให้พิจารณาว่าควรชิดซ้ายหรือชิดขวาดี ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ ให้ผู้ขับขี่เลือกว่าจะหลบทางไหนและเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้สัญญาณให้รถพยาบาล ได้แซงผ่านไปได้สะดวก การหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินเป็นความดีง่าย ๆ ที่เราสามารถทำร่วมกันได้ ดังนั้น หากเราเห็นรถพยาบาลขอทางมาควรรีบหลีกทางให้  เพราะวันหนึ่งคนที่อยู่บนรถคันนั้นอาจเป็นญาติหรือคนรู้จักเราก็ได้ (ที่มา : สพฉ.)
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ย้ำเตือนสำหรับแนวทางการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินตามหลักปฏิบัติสากล ดังนี้
- เมื่อประชาชนเห็นสัญญาณไฟและได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนก็มักจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นก่อนอื่นผู้ขับขี่ควรตั้งสติ 
- พยายามมองกระจกหลังเพื่อกะระยะของรถพยาบาลที่วิ่งมา
- เมื่อ พิจารณาปริมาณรถทั้งซ้ายและขวาที่อยู่ใกล้แล้วพบว่าไม่มีอันตรายและเรา สามารถเบี่ยงชิดซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถและเบี่ยงซ้ายเพื่อหลีกทางให้รถพยาบาลทันที
- หากไม่สามารถหลีกทางได้ด้วยเพราะสภาพรถที่หนาแน่นและมีอันตรายก็ให้หยุดหรือชะลอรถเพื่อให้รถพยาบาลหาทางวิ่งผ่านเราไปให้ได้
- เมื่อรถพยาบาลวิ่งผ่านไปแล้วห้ามขับตามเด็ดขาด
- กรณีรถ ติดและรถพยาบาลอยู่ด้านหลังพอดีให้พิจารณาว่าควรชิดซ้ายหรือชิดขวาดี ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ ให้ผู้ขับขี่เลือกว่าจะหลบทางไหนและเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้สัญญาณให้รถพยาบาล ได้แซงผ่านไปได้สะดวก
การหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินเป็นความดีง่าย ๆ ที่เราสามารถทำร่วมกันได้ ดังนั้น หากเราเห็นรถพยาบาลขอทางมาควรรีบหลีกทางให้  เพราะวันหนึ่งคนที่อยู่บนรถคันนั้นอาจเป็นญาติหรือคนรู้จักเราก็ได้
(ที่มา : สพฉ.)
- See more at: http://www.sctr.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3444#sthash.Rcn4k9gS.dpuf