กองทัพเรือ
จะทำการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๘ เป็นการฝึกภายในประเทศของหน่วยต่าง
ๆ ในกองทัพเรือจาก ส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา
รวม ๒๑ หน่วย โดยมี พลเรือเอก พจนา เผือกผ่อง รองผู้บัญชาการทหารเรือ
เป็นผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๘ มี กรมยุทธการทหารเรือ
เป็นหน่วยรับผิดชอบการจัดตั้งกองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ, กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
เป็นหน่วยรับผิดชอบในส่วนของระบบสื่อสารและการควบคุมบังคับบัญชาการ
และ กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยรับผิดชอบในส่วนควบคุมและประเมินผลการฝึก
โดยกำหนดขั้นตอนการฝึก ณ บริเวณที่ตั้งหน่วย พื้นที่ปฏิบัติการ
และพื้นที่ฝึกของกองทัพเรือ ดังนี้
-
ทำการฝึกเตรียมการ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เพื่อให้กำลังพลมีความคุ้นเคยกับระบบการรับ
- ส่งข่าว โดยเป็นสถานการณ์ฝึกเมื่อเกิดภาวะขัดแย้ง เน้นการฝึกเกี่ยวกับกฎการใช้กำลังการต่อต้านการก่อการร้าย
การข่าวกรองทางทหาร และการส่งกำลังบำรุง
-
การฝึกปัญหาที่บังคับ ทำการฝึกระหว่างวันที่ ๙ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘
เป็นการฝึกเกี่ยวกับการควบคุมบังคับบัญชา การอำนวยการยุทธ์ การใช้กำลัง
และสาขาปฏิบัติการของหน่วยกำลังต่าง ๆ
-
การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล ระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม - ๓
พฤษภาคม ๒๕๕๘
ประกอบด้วย การประชุมเตรียมการฝึก, การวางแผนการฝึก,
การฝึกแลกเปลี่ยน/ปรับมาตรฐาน
และการฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองยุทธ
เป็นการฝึกระหว่างหน่วยกำลังที่จะเข้าร่วมฝึก
ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘ และการฝึกภาคสนาม
เป็นการฝึกเพื่อทดสอบขีดความสามารถระดับหน่วยกำลังที่เข้าร่วมการฝึก
ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน - ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
- จากนั้นเป็นการสัมมนาสรุปผลการฝึก
ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
การฝึกกองทัพเรือ
เป็นการฝึกที่สำคัญและทำการฝึกเป็นประจำทุกปี
ในลักษณะบูรณาการด้วยการนำการปฏิบัติการสาขาต่าง
ๆ ของส่วนกำลังรบ
การปฏิบัติและการสนับสนุนของกรมในส่วนบัญชาการ
ส่วนยุทธบริการ
และส่วนการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
มาทำการฝึกภายใต้สถานการณ์การฝึกเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน
สำหรับกรอบการฝึกกองทัพเรือในปีนี้
ใช้ข้อมูลจากแผนป้องกันประเทศมาเป็นข้อมูลหลักในการจัดทำแผนที่ใช้ในการฝึก
โดยจะทำการฝึกในลักษณะให้มีภัยคุกคามด้านใต้
หน่วยรับการฝึกจะปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ
จนได้เป็นคำสั่งยุทธการกระดับกองทัพเรือ
ระดับทัพเรือภาคที่ ๑
- ๓ และ/หรือกำลังพลเฉพาะกิจ
ซึ่งจะนำไปใช้ทดสอบการควบคุมบังคับบัญชา
และการอำนวยการยุทธ์
เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติตามแผนหรือคำสั่งในเรื่องที่ต้องการ
ทดสอบ
รวมทั้งทดสอบขีดความสามารถการปฏิบัติการทางเรือตามสาขาต่าง ๆ (ที่มา
: ยก.ทร.)