กองอนุ
ศาสนาจารย์
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กำลังพลได้ทราบถึงหลักธรรม
ในการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท
สำหรับในวันนี้นำเสนอเรื่อง "ใจสั่งมา"
คำว่า "ใจสั่งมา" เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความหมายตรงกับสำนวนทางพุทธศาสนาที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" นั่นเอง มนุษย์เราจะทำดี พูดดี ก็ล้วนตกอยู่ในอำนาจของใจเป็นผู้สั่งการทั้งนั้น หากมีสุขภาพจิตดี ก็จะส่งผลให้ทำดี พูดดีตามไปด้วย ลักษณะของคนที่มีสุขภาพจิตดี คือ เข้าใจตนเอง สามารถปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสังคมและสภาพความเป็นจริง เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตก็สามารถคิดแก้ไขได้อย่างถูกวิธี สำหรับคนที่อยากมีสุขภาพจิตดีนั้น ท่านผู้รู้ได้แนะนำเทคนิคการดูแลสุขภาพจิตให้ดี ๕ ประการ คือ
๑. การฝึกฝนจิตใจ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ในบทกลอนชื่อ "ใจมนุษย์" ว่า "ใจสว่าง ใจสะอาด ใจสงบ ถ้ามีครบควรเรียกว่า มนุสสา" ทุกคนควรหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเองให้มั่นคง สุขุม เยือกเย็น มีเมตตา รู้จักให้อภัยและเข้าใจคนอื่น รวมถึงการมองโลกในแง่ดี
๒. การปรับตน คือ รู้จักปรับความคิดของตนเองให้เป็นคนมีเหตุมีผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ปรับตนเองให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย
๓. ฝึกพิจารณาตนเอง สำรวจ ตนเองอยู่เสมอ ว่า ตนเองนั้นมีข้อเสียตรงไหนข้อดีตรงไหน แล้วนำมาเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ส่วนข้อเสียก็ปรับปรุงแก้ไข
๔. ฝึกทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ผลการกระทำที่เกิดจากการช่วยเหลือสังคมหรือจากการกระทำคุณความดี ก็ส่งผลโดยตรงต่อจิตใจ ผู้กระทำนั้นก็มีความสุขใจ ภาคภูมิใจ และยังเป็นที่ยอมรับของคนอื่นด้วย
๕. ฝึกยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ตามหลักที่พุทธศาสนาสอนว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน" แล้วใช้ชีวิตอย่างมีสติ และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
ข้าศึกของใจคือ กิเลส ส่วนข้าศึกของกาย คือ การตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์ ดังนั้น การฝึกตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดีโดยปราศจากกิเลสอยู่เสมอนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้ และไม่เกินความสามารถของแต่ละคนอย่างแน่นอน แล้วท่านก็จะเป็นหนึ่งในกลุ่ม คนที่มีสุขภาพจิตดี มีชีวิตที่เป็นสุข สมกับคำพูดที่ว่า "ใจสั่งมา" อย่างแท้จริง (ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)
คำว่า "ใจสั่งมา" เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความหมายตรงกับสำนวนทางพุทธศาสนาที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" นั่นเอง มนุษย์เราจะทำดี พูดดี ก็ล้วนตกอยู่ในอำนาจของใจเป็นผู้สั่งการทั้งนั้น หากมีสุขภาพจิตดี ก็จะส่งผลให้ทำดี พูดดีตามไปด้วย ลักษณะของคนที่มีสุขภาพจิตดี คือ เข้าใจตนเอง สามารถปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสังคมและสภาพความเป็นจริง เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตก็สามารถคิดแก้ไขได้อย่างถูกวิธี สำหรับคนที่อยากมีสุขภาพจิตดีนั้น ท่านผู้รู้ได้แนะนำเทคนิคการดูแลสุขภาพจิตให้ดี ๕ ประการ คือ
๑. การฝึกฝนจิตใจ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ในบทกลอนชื่อ "ใจมนุษย์" ว่า "ใจสว่าง ใจสะอาด ใจสงบ ถ้ามีครบควรเรียกว่า มนุสสา" ทุกคนควรหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเองให้มั่นคง สุขุม เยือกเย็น มีเมตตา รู้จักให้อภัยและเข้าใจคนอื่น รวมถึงการมองโลกในแง่ดี
๒. การปรับตน คือ รู้จักปรับความคิดของตนเองให้เป็นคนมีเหตุมีผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ปรับตนเองให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย
๓. ฝึกพิจารณาตนเอง สำรวจ ตนเองอยู่เสมอ ว่า ตนเองนั้นมีข้อเสียตรงไหนข้อดีตรงไหน แล้วนำมาเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ส่วนข้อเสียก็ปรับปรุงแก้ไข
๔. ฝึกทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ผลการกระทำที่เกิดจากการช่วยเหลือสังคมหรือจากการกระทำคุณความดี ก็ส่งผลโดยตรงต่อจิตใจ ผู้กระทำนั้นก็มีความสุขใจ ภาคภูมิใจ และยังเป็นที่ยอมรับของคนอื่นด้วย
๕. ฝึกยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ตามหลักที่พุทธศาสนาสอนว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน" แล้วใช้ชีวิตอย่างมีสติ และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
ข้าศึกของใจคือ กิเลส ส่วนข้าศึกของกาย คือ การตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์ ดังนั้น การฝึกตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดีโดยปราศจากกิเลสอยู่เสมอนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้ และไม่เกินความสามารถของแต่ละคนอย่างแน่นอน แล้วท่านก็จะเป็นหนึ่งในกลุ่ม คนที่มีสุขภาพจิตดี มีชีวิตที่เป็นสุข สมกับคำพูดที่ว่า "ใจสั่งมา" อย่างแท้จริง (ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)