หุบกะพงตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเขาใหญ่และตำบลชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี ๔๐ กิโลเมตร
และอยู่ห่างเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๓๔ กิโลเมตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ และเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดใกล้เคียง พระองค์ได้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร
กลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน ๘๓ ครอบครัว ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะนำไปประกอบอาชีพ
พระองค์จึงทรงรับเกษตรกรเหล่านี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้ ฯพณฯ องคมนตรีหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้จัดหาที่ดินในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรดังกล่าว
รัฐบาลอิสราเอล
โดย ฯพณฯ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย
ขอทราบหลักการของโครงการและอาสาช่วยเหลือในการพัฒนาการเกษตรในรูปของผู้
เชี่ยวชาญสาขาต่าง
ๆ ทำสัญญาร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล
มีกำหนดระยะเวลา
๕ ปี เริ่มวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๐๙ ถึงวันที่ ๑๘ สิงหาคม
๒๕๑๔ ใช้ชื่อว่า
โครงการไทย - อิสราเอล เพื่อพัฒนาชุมชน (หุบกะพง)
โดยเลือกที่ดินบริเวณหุบกะพง
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
เป็นที่ตั้งของศูนย์สาธิตและทดลองการเกษตรของโครงการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงทรงมีพระราชดำริให้กันพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่
ออกจากป่าคุ้มครองของกรมป่าไม้
ภายหลังพระองค์ทรงจับจองพื้นที่ดังกล่าวเยี่ยงสามัญชน
โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายป่าไม้และกฎหมายที่ดินทุกประการ
เมื่อมีแนวพัฒนาที่ดินดีขึ้นแล้ว
ก็จะจัดให้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในตอนต้น
และเกษตรกรที่ขยันหมั่นเพียรแต่ขาดแคลนที่ดินทำกินเข้ามาอยู่อาศัยและทำ
ประโยชน์
และการอพยพครอบครัวเกษตรกรได้จัดให้อยู่เป็นหมู่บ้านเกษตรกร
โดยมีทางราชการเข้าช่วยเหลือให้คำแนะนำการบริหารงานของหมู่บ้านตัวอย่าง
และมีการให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับหลักและวิธีการสหกรณ์
จนเห็นว่าสมาชิกของหมู่บ้านเกษตรกรมีความเข้าใจดีพอแล้ว
จึงเข้าชื่อกันเพื่อขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร
ชื่อว่า "สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง
จำกัด" เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า
ฯ พระราชทานทะเบียนให้ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด
และได้พระราชทานโฉนดที่ดินบริเวณหุบกะพง
จำนวน ๓ ฉบับ รวมเนื้อที่ ๑๒,๐๗๙ ไร่ ๑ งาน ๘๒ ตารางวา
ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และ
สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ
โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเจ้าของโครงการ
โครงการนี้ส่งผลให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน
มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีอาชีพที่มั่นคง
มีแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียน นักศึกษา
และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการตามพระราชประสงค์
ต่อยอดผลผลิตของเกษตรกรที่มีอยู่ให้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น
ทำให้มีเงินหมุนเวียนในสหกรณ์หมู่บ้าน
สร้างความสามัคคีให้ชุมชนและทำให้คนในชุมชนยอมรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ
ของกันและกัน
(ที่มา : กพ.ทร.)