กองอนุ
ศาสนาจารย์
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กำลังพลได้ทราบถึงหลักธรรม
ในการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท
สำหรับในวันนี้นำเสนอเรื่อง "สองคนยลตามช่อง"
นักสอนศาสนาท่านหนึ่งเขียนไว้ว่า "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย" เพื่อจะไขปริศนาธรรมดังกล่าว โบราณาจารย์ท่านได้แนะนำสั่งสอนให้ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์เลือกมองสิ่งต่าง ๆ เฉพาะแต่ในแง่ที่เป็นประโยชน์ หรือพินิจพิจารณาปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นปัญหาให้เป็นปัญญาและปรับเปลี่ยน วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยยกตัวอย่างบุคคล ๒ คน ที่ประสบปัญหาเหมือนกัน แต่มีวิธีคิดและมุมมองในการแก้ปัญหาต่างกันดังนี้
ตัวอย่างที่ ๑ มีแก้ว ๑ ใบ มีน้ำเหลืออยู่ในแก้วครึ่งหนึ่ง คนที่ต้องการดื่มน้ำคนแรกมองเห็นแต่ในแง่ลบด้วยความโลภว่า มีน้ำเหลืออยู่แค่ครึ่งแก้ว คงไม่พอสำหรับดื่มดับกระหาย แต่อีกคนหนึ่งกลับมองแต่ในแง่บวกด้วยความมักน้อยสันโดษว่า มีน้ำเหลืออยู่ตั้งครึ่งแก้ว น่าจะเพียงพอสำหรับดื่มดับกระหายได้
ตัวอย่างที่ ๒ ในใบจ่ายเงินเดือนข้าราชการกองทัพเรือ ๒ นาย แจ้งยอดเงินรายได้รวมจำนวน ๓ แสนบาท และเงินภาษีรวมหักถึงเดือนปัจจุบัน จำนวน ๘ พันบาท เท่ากัน ข้าราชการคนแรกมองเห็นแต่ในแง่เสียด้วยความเห็นแก่ตัวว่า ถูกหักภาษีรวมเป็นเงินถึง ๘ พันบาท แต่ข้าราชการอีกคนหนึ่งกลับมองแต่ในแง่ดีอย่างภูมิอกภูมิใจว่า แค่เดือนปัจจุบันนี้ เรามีเงินรายได้รวมถึง ๓ แสนบาท
ตัวอย่างที่ ๓ พนักงานขายจาก ๒ บริษัท ได้ถูกส่งไปเปิดตลาดรองเท้าที่ประเทศแอฟริกา พร้อม ๆ กัน คนแรกเห็นคนพื้นเมืองแอฟริกาไม่ใส่รองเท้าเลยแม้แต่คนเดียว จึงรีบโทรศัพท์รายงานบริษัทด้วยน้ำเสียงท้อแท้สิ้นหวังว่า "อย่าส่งรองเท้ามาขายที่นี่ เพราะคนแอฟริกาไม่นิยมใส่รองเท้า" แต่อีกคนหนึ่งกลับรีบโทรศัพท์รายงานษริษัทอย่างดีใจเปี่ยมด้วยความหวังว่า "ให้รีบส่งรองเท้ามาทันที เพราะคนที่แอฟริกานี้ไม่มีรองเท้าใส่"
จากเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ ชี้ให้เห็นสัจธรรมชีวิตว่า ทุกคนมีปัญหาและในทุกปัญหา ถ้าหากใช้ปัญญาก็มีโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า "คนโง่เขามักมองเห็นปัญหาในทุกโอกาส แต่คนฉลาดมักมองเห็นโอกาสในทุกปัญหา" เท่านั้น
(ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)
นักสอนศาสนาท่านหนึ่งเขียนไว้ว่า "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย" เพื่อจะไขปริศนาธรรมดังกล่าว โบราณาจารย์ท่านได้แนะนำสั่งสอนให้ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์เลือกมองสิ่งต่าง ๆ เฉพาะแต่ในแง่ที่เป็นประโยชน์ หรือพินิจพิจารณาปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นปัญหาให้เป็นปัญญาและปรับเปลี่ยน วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยยกตัวอย่างบุคคล ๒ คน ที่ประสบปัญหาเหมือนกัน แต่มีวิธีคิดและมุมมองในการแก้ปัญหาต่างกันดังนี้
ตัวอย่างที่ ๑ มีแก้ว ๑ ใบ มีน้ำเหลืออยู่ในแก้วครึ่งหนึ่ง คนที่ต้องการดื่มน้ำคนแรกมองเห็นแต่ในแง่ลบด้วยความโลภว่า มีน้ำเหลืออยู่แค่ครึ่งแก้ว คงไม่พอสำหรับดื่มดับกระหาย แต่อีกคนหนึ่งกลับมองแต่ในแง่บวกด้วยความมักน้อยสันโดษว่า มีน้ำเหลืออยู่ตั้งครึ่งแก้ว น่าจะเพียงพอสำหรับดื่มดับกระหายได้
ตัวอย่างที่ ๒ ในใบจ่ายเงินเดือนข้าราชการกองทัพเรือ ๒ นาย แจ้งยอดเงินรายได้รวมจำนวน ๓ แสนบาท และเงินภาษีรวมหักถึงเดือนปัจจุบัน จำนวน ๘ พันบาท เท่ากัน ข้าราชการคนแรกมองเห็นแต่ในแง่เสียด้วยความเห็นแก่ตัวว่า ถูกหักภาษีรวมเป็นเงินถึง ๘ พันบาท แต่ข้าราชการอีกคนหนึ่งกลับมองแต่ในแง่ดีอย่างภูมิอกภูมิใจว่า แค่เดือนปัจจุบันนี้ เรามีเงินรายได้รวมถึง ๓ แสนบาท
ตัวอย่างที่ ๓ พนักงานขายจาก ๒ บริษัท ได้ถูกส่งไปเปิดตลาดรองเท้าที่ประเทศแอฟริกา พร้อม ๆ กัน คนแรกเห็นคนพื้นเมืองแอฟริกาไม่ใส่รองเท้าเลยแม้แต่คนเดียว จึงรีบโทรศัพท์รายงานบริษัทด้วยน้ำเสียงท้อแท้สิ้นหวังว่า "อย่าส่งรองเท้ามาขายที่นี่ เพราะคนแอฟริกาไม่นิยมใส่รองเท้า" แต่อีกคนหนึ่งกลับรีบโทรศัพท์รายงานษริษัทอย่างดีใจเปี่ยมด้วยความหวังว่า "ให้รีบส่งรองเท้ามาทันที เพราะคนที่แอฟริกานี้ไม่มีรองเท้าใส่"
จากเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ ชี้ให้เห็นสัจธรรมชีวิตว่า ทุกคนมีปัญหาและในทุกปัญหา ถ้าหากใช้ปัญญาก็มีโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า "คนโง่เขามักมองเห็นปัญหาในทุกโอกาส แต่คนฉลาดมักมองเห็นโอกาสในทุกปัญหา" เท่านั้น
(ที่มา : อศจ.ยศ.ทร.)