วันนี้ (๒๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗) เวลา ๑๐.๓๐ น. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ
เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๗ ณ บริเวณหน้า
กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โดยมี พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ให้การรับรอง และมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ฯ
การฝึกกองทัพเรือ เป็นการฝึกที่สำคัญและทำการฝึกเป็นประจำทุกปี เป็นการฝึกภายในประเทศของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือจาก ส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา รวม ๒๑ หน่วย ประกอบด้วย กรมกำลังพลทหารเรือ, กรมข่าวทหารเรือ, กรมยุทธการทหารเรือ, กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ, กองเรือยุทธการ, ทัพเรือภาคที่ ๑, ทัพเรือภาคที่ ๒, ทัพเรือภาคที่ ๓, หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน, หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง, ฐานทัพเรือสัตหีบ, ฐานทัพเรือกรุงเทพ, กรมสารวัตรทหารเรือ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ, กรมพลาธิการทหารเรือ, กรมแพทย์ทหารเรือ, การการขนส่งทหารเรือ, กรมอุทกศาสตร์, กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ, กรมยุทธศึกษาทหารเรือ และ โรงเรียนนายเรือ สำหรับการฝึกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๗ เป็นการฝึกในลักษณะบูรณาการด้วยการนำการปฏิบัติการทางทหาร การปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ของส่วนกำลังรบ การปฏิบัติการและการสนับสนุนของส่วนอื่น ๆ มาทำการฝึกภายใต้สถานการณ์เดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน ระหว่างวันที่ ๓ มีนาคม ถึง ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ พื้นที่ฝึกบริเวณที่ตั้งหน่วย พื้นที่ปฏิบัติการ และพื้นที่ฝึกของกองทัพเรือ มี พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้อำนวยการฝึกฯ
วัตถุประสงค์หลักของการฝึก เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนทางทหารของหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแผนป้องกันประเทศ และเพื่อทดสอบการอำนวยการยุทธ์ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ และศูนย์บัญชาการทางทหารระดับต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ตามโครงสร้างและแนวทางใช้กำลังของกองทัพเรือในปัจจุบัน โดยทำการฝึกในลักษณะ "รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น" คือ หน่วยจะต้องปฏิบัติภารกิจหน้าที่ใดในสถานการณ์จริงให้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ นั้นในสถานการณ์ฝึก ทั้งนี้ ได้นำปัญหา อุปสรรค ขัดข้องและข้อเสนอแนะของการฝึกกองทัพเรือในปี ๒๕๕๖ มาพิจารณาให้สอดคล้องตามแผนการปฏิบัติงานของหน่วย
การฝึกครั้งนี้จะใช้ข้อมูลจากแผนป้องกันประเทศด้านใต้ (แผนศรีวิชัย) มาใช้เป็นข้อมูลหลักในการจัดทำแผน/คำสั่งยุทธการในการฝึก โดยจะทำการฝึกในลักษณะที่ไม่มีแผนยุทธการไว้รองรับ ด้วยการสมมติเหตุการณ์ให้มีภัยคุกคามด้านใต้ หน่วยรับการฝึกจะปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ (Crisis Action Planning : CAP) จนได้เป็นคำสั่งยุทธการในชื่อ "คำสั่งพิทักษ์น้ำเงิน ๕๗ ระดับกองทัพเรือ" และ "คำสั่งพิทักษ์น้ำเงิน ๕๗ ระดับทัพเรือภาคที่ ๑ - ๓" ซึ่งจะนำไปใช้ทดสอบการควบคุมบังคับบัญชาและการอำนวยการยุทธ์ตามโครงสร้าง จริง รวมทั้งทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดจนทดสอบขีดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและหรือจัดทำหลักปฏิบัติเพิ่ม เติม มีขอบเขตการฝึกทั้งในด้านการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การขนส่ง และการบริการทางการแพทย์ โดยมีขั้นตอนการฝึกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการฝึกได้ดำเนินการ ขั้นการฝึก ประกอบด้วย การอบรมในห้องเรียน การฝึกปัญหาที่บังคับการ และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล และขั้นการสัมมนาสรุปผลการฝึก (ที่มา : ยก.ทร.)
การฝึกกองทัพเรือ เป็นการฝึกที่สำคัญและทำการฝึกเป็นประจำทุกปี เป็นการฝึกภายในประเทศของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือจาก ส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา รวม ๒๑ หน่วย ประกอบด้วย กรมกำลังพลทหารเรือ, กรมข่าวทหารเรือ, กรมยุทธการทหารเรือ, กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ, กองเรือยุทธการ, ทัพเรือภาคที่ ๑, ทัพเรือภาคที่ ๒, ทัพเรือภาคที่ ๓, หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน, หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง, ฐานทัพเรือสัตหีบ, ฐานทัพเรือกรุงเทพ, กรมสารวัตรทหารเรือ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ, กรมพลาธิการทหารเรือ, กรมแพทย์ทหารเรือ, การการขนส่งทหารเรือ, กรมอุทกศาสตร์, กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ, กรมยุทธศึกษาทหารเรือ และ โรงเรียนนายเรือ สำหรับการฝึกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๗ เป็นการฝึกในลักษณะบูรณาการด้วยการนำการปฏิบัติการทางทหาร การปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ของส่วนกำลังรบ การปฏิบัติการและการสนับสนุนของส่วนอื่น ๆ มาทำการฝึกภายใต้สถานการณ์เดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน ระหว่างวันที่ ๓ มีนาคม ถึง ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ พื้นที่ฝึกบริเวณที่ตั้งหน่วย พื้นที่ปฏิบัติการ และพื้นที่ฝึกของกองทัพเรือ มี พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้อำนวยการฝึกฯ
วัตถุประสงค์หลักของการฝึก เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนทางทหารของหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแผนป้องกันประเทศ และเพื่อทดสอบการอำนวยการยุทธ์ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ และศูนย์บัญชาการทางทหารระดับต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ตามโครงสร้างและแนวทางใช้กำลังของกองทัพเรือในปัจจุบัน โดยทำการฝึกในลักษณะ "รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น" คือ หน่วยจะต้องปฏิบัติภารกิจหน้าที่ใดในสถานการณ์จริงให้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ นั้นในสถานการณ์ฝึก ทั้งนี้ ได้นำปัญหา อุปสรรค ขัดข้องและข้อเสนอแนะของการฝึกกองทัพเรือในปี ๒๕๕๖ มาพิจารณาให้สอดคล้องตามแผนการปฏิบัติงานของหน่วย
การฝึกครั้งนี้จะใช้ข้อมูลจากแผนป้องกันประเทศด้านใต้ (แผนศรีวิชัย) มาใช้เป็นข้อมูลหลักในการจัดทำแผน/คำสั่งยุทธการในการฝึก โดยจะทำการฝึกในลักษณะที่ไม่มีแผนยุทธการไว้รองรับ ด้วยการสมมติเหตุการณ์ให้มีภัยคุกคามด้านใต้ หน่วยรับการฝึกจะปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ (Crisis Action Planning : CAP) จนได้เป็นคำสั่งยุทธการในชื่อ "คำสั่งพิทักษ์น้ำเงิน ๕๗ ระดับกองทัพเรือ" และ "คำสั่งพิทักษ์น้ำเงิน ๕๗ ระดับทัพเรือภาคที่ ๑ - ๓" ซึ่งจะนำไปใช้ทดสอบการควบคุมบังคับบัญชาและการอำนวยการยุทธ์ตามโครงสร้าง จริง รวมทั้งทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดจนทดสอบขีดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและหรือจัดทำหลักปฏิบัติเพิ่ม เติม มีขอบเขตการฝึกทั้งในด้านการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การขนส่ง และการบริการทางการแพทย์ โดยมีขั้นตอนการฝึกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการฝึกได้ดำเนินการ ขั้นการฝึก ประกอบด้วย การอบรมในห้องเรียน การฝึกปัญหาที่บังคับการ และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล และขั้นการสัมมนาสรุปผลการฝึก (ที่มา : ยก.ทร.)