กองทัพเรือ โดย
ศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลเขตทัพเรือภาคที่ ๑ เขตทัพเรือภาคที่
๒ และเขตทัพเรือภาคที่ ๓ เตรียมจัดงานและพิธีสวนสนามทางบกและทางเรือ
เนื่องในวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ ๔ มีนาคม ประจำปี ๒๕๕๗ ระหว่างวันที่
๒ ถึงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ วัดสุทธิวาตวรารามจังหวัดสมุทรสาคร
โดย ศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลเขตทัพเรือภาคที่ ๑ ดำเนินการจัดพิธีสวนสนามทางบกและสวนสนามทางเรือ
โดยนำสมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลจากจังหวัดต่าง ๆ รวม ๒๒ จังหวัด
พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานฯ
การจัดงานเนื่องในวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อย้ำเตือนให้เหล่าสมาชิกได้รำลึกถึงและสดุดีวีรกรรมอัน ยิ่งใหญ่ของบรรพชนที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต รักษาแผ่นดินไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ ตลอดจนเป็นการแสดงพลังความรักสามัคคีของเหล่าสมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติที่ พร้อมจะเสียสละชีวิตปกป้องอธิปไตยของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วยการรวมพลังสวนสนาม ทั้งทางบกและทางเรือ รวมทั้งร่วมกันประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ สำหรับการจัดงานในปีนี้ เป็นการจัดแบบรวมเขต โดยศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลทัพเรือภาคที่ ๑ เป็นหน่วยรับผิดชอบจัดพิธีสวนสนามทางบกและสวนสนามทางเรือ ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีทางศาสนา การถวายสักการะ พิธีเปิดและเชิญธงไทยอาสาป้องกันชาติ พิธีสวนสนามทางบก พิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร พิธีสวนสนามทางเรือ งานเลี้ยงสังสรรค์ รวมทั้งมีกิจกรรมสัมพันธ์ การแสดงสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร และการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคี
๔ มีนาคม ของทุกปี ทางราชการได้ประกาศให้เป็น "วันไทยอาสาป้องกันชาติ" หรือวัน ทสปช. สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ บรรพชนของเราได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยได้สละชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดเหงื่อ เข้าปกป้องเอกราชอธิปไตยของแผ่นดิน เมื่อครั้งที่ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทยได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาจับอาวุธเข้าต่อสู้ขับ ไล่อริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้ฝ่ายเราจะมีไพร่พล ซึ่งล้วนแต่เป็นประชาชนพลเมือง และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่แกร่งกล้าและอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาเอกราชไว้ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป เหตุการณ์นั้นนับเป็นวีรกรรมที่เสียสละอย่างแท้จริงของประชาชนที่รวมพลังกัน ลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูจนได้รับชัยชนะ
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กองทัพเรือเปิดการอบรมชาวประมง เพื่อความมั่นคงของชาติขึ้น และให้พิจารณาจัดตั้งกลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมในลักษณะเดียวกับไทยอาสา ป้องกันชาติ กองทัพเรือจึงได้ร่วมกับกรมประมงและสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดการอบรมชาวประมงตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวม ๒๒ จังหวัด ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันขึ้น เพื่อให้กลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทัศนะคติที่ดีและให้ความร่วมมือกับทางราชการและกองทัพเรือในการป้องกันการ กระทำผิดในทะเลการป้องกันและปราบปรามโจรสลัดและมุ่งเสริมสร้างความมั่นคงของ ชาติ โดยใช้ชื่อหลักสูตรการอบรมว่า "การประมงกับความมั่นคงของชาติในทะเล" ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น "การประมงกับความมั่นคงของชาติและไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล" พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมมาแล้วเป็น "ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล" มีภารกิจในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบหรือภัยจากการกระทำ ของฝ่ายตรงข้าม, ป้องกันและต่อต้านการกระทำผิดทางทะเลในพื้นที่ทำการประมงของตน, ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล, สืบสวน คอยฟังข่าวสารการเคลื่อนไหวอันอาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายการปฏิบัติภารกิจจากผู้อำนวยการศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติ ในทะเล (ที่มา : สลก.ทร.)
การจัดงานเนื่องในวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อย้ำเตือนให้เหล่าสมาชิกได้รำลึกถึงและสดุดีวีรกรรมอัน ยิ่งใหญ่ของบรรพชนที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต รักษาแผ่นดินไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ ตลอดจนเป็นการแสดงพลังความรักสามัคคีของเหล่าสมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติที่ พร้อมจะเสียสละชีวิตปกป้องอธิปไตยของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วยการรวมพลังสวนสนาม ทั้งทางบกและทางเรือ รวมทั้งร่วมกันประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ สำหรับการจัดงานในปีนี้ เป็นการจัดแบบรวมเขต โดยศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลทัพเรือภาคที่ ๑ เป็นหน่วยรับผิดชอบจัดพิธีสวนสนามทางบกและสวนสนามทางเรือ ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีทางศาสนา การถวายสักการะ พิธีเปิดและเชิญธงไทยอาสาป้องกันชาติ พิธีสวนสนามทางบก พิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร พิธีสวนสนามทางเรือ งานเลี้ยงสังสรรค์ รวมทั้งมีกิจกรรมสัมพันธ์ การแสดงสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร และการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคี
๔ มีนาคม ของทุกปี ทางราชการได้ประกาศให้เป็น "วันไทยอาสาป้องกันชาติ" หรือวัน ทสปช. สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ บรรพชนของเราได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยได้สละชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดเหงื่อ เข้าปกป้องเอกราชอธิปไตยของแผ่นดิน เมื่อครั้งที่ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทยได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาจับอาวุธเข้าต่อสู้ขับ ไล่อริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้ฝ่ายเราจะมีไพร่พล ซึ่งล้วนแต่เป็นประชาชนพลเมือง และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่แกร่งกล้าและอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาเอกราชไว้ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป เหตุการณ์นั้นนับเป็นวีรกรรมที่เสียสละอย่างแท้จริงของประชาชนที่รวมพลังกัน ลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูจนได้รับชัยชนะ
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กองทัพเรือเปิดการอบรมชาวประมง เพื่อความมั่นคงของชาติขึ้น และให้พิจารณาจัดตั้งกลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมในลักษณะเดียวกับไทยอาสา ป้องกันชาติ กองทัพเรือจึงได้ร่วมกับกรมประมงและสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดการอบรมชาวประมงตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวม ๒๒ จังหวัด ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันขึ้น เพื่อให้กลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทัศนะคติที่ดีและให้ความร่วมมือกับทางราชการและกองทัพเรือในการป้องกันการ กระทำผิดในทะเลการป้องกันและปราบปรามโจรสลัดและมุ่งเสริมสร้างความมั่นคงของ ชาติ โดยใช้ชื่อหลักสูตรการอบรมว่า "การประมงกับความมั่นคงของชาติในทะเล" ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น "การประมงกับความมั่นคงของชาติและไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล" พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มชาวประมงที่ผ่านการอบรมมาแล้วเป็น "ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล" มีภารกิจในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบหรือภัยจากการกระทำ ของฝ่ายตรงข้าม, ป้องกันและต่อต้านการกระทำผิดทางทะเลในพื้นที่ทำการประมงของตน, ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล, สืบสวน คอยฟังข่าวสารการเคลื่อนไหวอันอาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายการปฏิบัติภารกิจจากผู้อำนวยการศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติ ในทะเล (ที่มา : สลก.ทร.)