วันนี้ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕) เวลา ๑๔.๐๐ น. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
ผู้บัญชาการทหารเรือ
เป็นประธานแถลงข่าวการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยมี พลเรือโท พจนา เผือกผ่อง
ประธานกรรมการเตรียมการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ฯ
และรองเสนาธิการทหารเรือ เป็นผู้ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องชมวัง อาคารราชนาวิกสภา
หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ภายในงานจัดให้มีการแสดงสาธิตการเห่เรือและนิทรรศการภาพถ่ายการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ฯ ทั้งนี้
เพื่อให้สื่อมวลชนได้รับทราบรายละเอียดและนำไปประชาสัมพันธ์การจัดงานพระราชพิธี ฯ
ให้แพร่หลายสู่ประชาชนต่อไป
ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพเรือรับผิดชอบการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นับเป็นครั้ง ๑๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งกองทัพเรือได้จัดเตรียมเรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ จำนวน ๑๒ ลำ พร้อมด้วยเรือพระราชพิธีอื่น ๆ อีก จำนวน ๓๙ ลำ โดยใช้กำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นฝีพายประจำเรือพระราชพิธีและกำลังพลในส่วนอื่น ๆ จำนวน ๒,๓๑๑ นาย
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ได้มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ข้าราชการบำนาญ สังกัดกองทัพเรือ มีทั้งสิ้น ๓ บท ได้แก่ บรรสรรเสริญพระบารมี บทชมเมือง และบทชมเรือขบวน โดยมี นาวาโท ณัฐวัฎ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่
ในส่วนของการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้ใช้ระยะเวลาในการเตรียมการนานกว่า ๙ เดือน เพื่อทำการฝึกซ้อมฝีพาย โดยช่วงปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม ๘ ถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ส่วนการซ้อมใหญ่เสมือนจริงจะมีขึ้นในวันที่ ๒ และวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยเรือจะเริ่มตั้งขบวนที่บริเวณสะพานพระราม ๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. และจะเคลื่อนขบวนมาถึงท่าเรือวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถรับชมการฝึกซ้อมได้บริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีจุดหลัก ๆ ที่สามารถรับชม ได้แก่ สวนหลวงพระราม ๘ (เชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี) สวนสันติชัยปราการ (ถนนพระอาทิตย์) สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) และสวนนาคราภิรมย์ (ท่าเตียน) (ที่มา : สลก.ทร.)
ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพเรือรับผิดชอบการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นับเป็นครั้ง ๑๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งกองทัพเรือได้จัดเตรียมเรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ จำนวน ๑๒ ลำ พร้อมด้วยเรือพระราชพิธีอื่น ๆ อีก จำนวน ๓๙ ลำ โดยใช้กำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นฝีพายประจำเรือพระราชพิธีและกำลังพลในส่วนอื่น ๆ จำนวน ๒,๓๑๑ นาย
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ได้มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ข้าราชการบำนาญ สังกัดกองทัพเรือ มีทั้งสิ้น ๓ บท ได้แก่ บรรสรรเสริญพระบารมี บทชมเมือง และบทชมเรือขบวน โดยมี นาวาโท ณัฐวัฎ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่
ในส่วนของการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้ใช้ระยะเวลาในการเตรียมการนานกว่า ๙ เดือน เพื่อทำการฝึกซ้อมฝีพาย โดยช่วงปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม ๘ ถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ส่วนการซ้อมใหญ่เสมือนจริงจะมีขึ้นในวันที่ ๒ และวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยเรือจะเริ่มตั้งขบวนที่บริเวณสะพานพระราม ๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. และจะเคลื่อนขบวนมาถึงท่าเรือวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถรับชมการฝึกซ้อมได้บริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีจุดหลัก ๆ ที่สามารถรับชม ได้แก่ สวนหลวงพระราม ๘ (เชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี) สวนสันติชัยปราการ (ถนนพระอาทิตย์) สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) และสวนนาคราภิรมย์ (ท่าเตียน) (ที่มา : สลก.ทร.)