พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการกองทัพเรือ และประชาชน
เข้าร่วมพิธี ทั้งนี้
เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ร่มเย็นเป็นสุข
ทั้งยังทรงสนพระทัยในวิทยาการแขนงต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาประเทศวันนี้
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและภาคเอกชนจะพร้อมใจกันประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีการจัดเป็นส่วนกลางที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลานพระราชวังดุสิต
สำหรับพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า นับเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นใน รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากเรือรบของต่างชาติ โดยงบประมาณในการสร้างนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินงบประมาณรายได้ของแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อสมทบการก่อสร้าง ซึ่งในเวลาต่อมา ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องรักษาและอธิปไตยของประเทศจากเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ กองทัพเรือและภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณด้านหน้าป้อมพระจุลจอมเกล้า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณและพระกรุณาธิคุณ โดยพระบรมรูปที่จัดสร้างฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมพลเรือสวมพระมาลา มีขนาดสูง ๔.๒๐ เมตร หรือ ๒ เท่าครึ่งของพระองค์จริง ส่วนฐานของพระบรมรูปมีขนาด ๙๓๕ ตารางเมตร ใต้ฐานของพระบรมรูปได้จัดเป็นห้องโถงไว้ภายในเพื่ออำนวยประโยชน์สำหรับกิจการต่าง ๆ ของกองทัพเรือ และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ (ที่มา : สลก.ทร.)
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและภาคเอกชนจะพร้อมใจกันประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีการจัดเป็นส่วนกลางที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลานพระราชวังดุสิต
สำหรับพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า นับเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นใน รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากเรือรบของต่างชาติ โดยงบประมาณในการสร้างนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินงบประมาณรายได้ของแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อสมทบการก่อสร้าง ซึ่งในเวลาต่อมา ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องรักษาและอธิปไตยของประเทศจากเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ กองทัพเรือและภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณด้านหน้าป้อมพระจุลจอมเกล้า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณและพระกรุณาธิคุณ โดยพระบรมรูปที่จัดสร้างฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมพลเรือสวมพระมาลา มีขนาดสูง ๔.๒๐ เมตร หรือ ๒ เท่าครึ่งของพระองค์จริง ส่วนฐานของพระบรมรูปมีขนาด ๙๓๕ ตารางเมตร ใต้ฐานของพระบรมรูปได้จัดเป็นห้องโถงไว้ภายในเพื่ออำนวยประโยชน์สำหรับกิจการต่าง ๆ ของกองทัพเรือ และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ (ที่มา : สลก.ทร.)