กองอนุ
ศาสนาจารย์
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กำลังพลได้ทราบถึงหลักธรรม
ในการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท
สำหรับในวันนี้นำเสนอเรื่อง "แทนคุณแผ่นดิน"
คำว่า "แทนคุณแผ่นดิน" ตรงกับความหมายของหลักธรรมในทางศาสนาคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งจัดว่าเป็นคุณธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้คนที่มีเครื่องหมายดังกล่าวติดตัวจะตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ดังคำที่โบราณาจารย์ท่านสอนไว้จริง ๆ สิ่งที่ควรแสดงความกตัญญูมี ๕ ประการ ได้แก่
๑. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้และระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ด้วยการปฏิบัติตัว
ให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือ ปศุสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ความกรุณา ปรานี กตัญญูรู้คุณ ไม่เฆี่ยนตีด้วยความทารุณโหดร้าย
๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ รวมถึงประเทศชาติที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ต้องรู้จักตอบแทนด้วยการดูแลรักษาและพัฒนาโดยปราศจากอคติครอบงำ
๔. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากผลของบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ จึงควรกตัญญูรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๕. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะอาศัยและใช้ในการทำความดีใช้ใน การสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดีไม่ทำลายด้วยการเสพสิ่งเสพติดทุก ชนิด
สังคมปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่แสดงความกตัญญูต่อบุคคล สัตว์ สิ่งของ บุญและต่อตนเองด้วยวิธีการที่เข้าข้างตัวเอง คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูกต้อง ปฏิเสธและไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลเสียหายมากมายตามมา หากคนเราปฏิบัติต่อหลักกตัญญู ๕ ประการ ข้างต้น และยึดมั่นในกฎกติกา สังคมก็จะสงบสุขเพียงเท่านี้ก็จะได้ชื่อว่า แทนคุณแผ่นดิน อย่างแท้จริง (ที่มา : ยศ.ทร.)
คำว่า "แทนคุณแผ่นดิน" ตรงกับความหมายของหลักธรรมในทางศาสนาคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งจัดว่าเป็นคุณธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้คนที่มีเครื่องหมายดังกล่าวติดตัวจะตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ดังคำที่โบราณาจารย์ท่านสอนไว้จริง ๆ สิ่งที่ควรแสดงความกตัญญูมี ๕ ประการ ได้แก่
๑. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้และระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ด้วยการปฏิบัติตัว
ให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือ ปศุสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ความกรุณา ปรานี กตัญญูรู้คุณ ไม่เฆี่ยนตีด้วยความทารุณโหดร้าย
๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ รวมถึงประเทศชาติที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ต้องรู้จักตอบแทนด้วยการดูแลรักษาและพัฒนาโดยปราศจากอคติครอบงำ
๔. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากผลของบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ จึงควรกตัญญูรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๕. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะอาศัยและใช้ในการทำความดีใช้ใน การสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดีไม่ทำลายด้วยการเสพสิ่งเสพติดทุก ชนิด
สังคมปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่แสดงความกตัญญูต่อบุคคล สัตว์ สิ่งของ บุญและต่อตนเองด้วยวิธีการที่เข้าข้างตัวเอง คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูกต้อง ปฏิเสธและไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลเสียหายมากมายตามมา หากคนเราปฏิบัติต่อหลักกตัญญู ๕ ประการ ข้างต้น และยึดมั่นในกฎกติกา สังคมก็จะสงบสุขเพียงเท่านี้ก็จะได้ชื่อว่า แทนคุณแผ่นดิน อย่างแท้จริง (ที่มา : ยศ.ทร.)