กองทัพเรือ
โดย กองเรือยุทธการ จัดตั้งกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ ๕๗ (กรฝ.กร.๕๗)
เพื่อทำการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กองบิน หน่วยหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ณ พื้นที่การฝึก บริเวณอ่าวไทย ระหว่างวันที่
๒๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยมี พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ
๕๗
การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือของกองเรือยุทธการ เป็นการฝึกเพื่อให้องค์บุคคลประจำเรือ อากาศยาน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบ ทั้งในลักษณะเป็นรายบุคคลและปฏิบัติงานเป็นทีมภายในเรือ อากาศยาน หรือชุดปฏิบัติการ และเพื่อเป็นการตรวจสอบความพร้อมขององค์วัตถุของเรือ อากาศยาน และอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเอกสาร บรรณสาร คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติการทั้งปวง และเพื่อให้องค์บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ มีความคุ้นเคยในการใช้งานและมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในสาขาการปฏิบัติตามประเภทของเรือ/อากาศยาน และตามหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจในหน่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะ ประสบการณ์ทางยุทธวิธีในการตัดสินใจ การบังคับบัญชาสั่งการ ทดสอบความพร้อมของระบบอาวุธประจำเรือและอากาศยาน รวมทั้งให้กำลังพลที่เกี่ยวข้องกับระบบอาวุธดังกล่าวมีความคุ้นเคยในการใช้อาวุธ และมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการดำเนินการฝึก แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ได้แก่ การฝึกและอบรมในท่า เป็นการฝึกในห้องเรียน การฝึกตามสาขาปฏิบัติการทั่วไป การฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองต่าง ๆ, การฝึกในทะเล เป็นการฝึกยิงปืนในทะเล การฝึกตามสาขาปฏิบัติการของกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ และการสรุปผลการฝึก โดยมีกำลังพลเข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย กำลังพลจากกองบัญชาการกองเรือยุทธการ กองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ที่มา : กร.)
การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือของกองเรือยุทธการ เป็นการฝึกเพื่อให้องค์บุคคลประจำเรือ อากาศยาน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบ ทั้งในลักษณะเป็นรายบุคคลและปฏิบัติงานเป็นทีมภายในเรือ อากาศยาน หรือชุดปฏิบัติการ และเพื่อเป็นการตรวจสอบความพร้อมขององค์วัตถุของเรือ อากาศยาน และอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเอกสาร บรรณสาร คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติการทั้งปวง และเพื่อให้องค์บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ มีความคุ้นเคยในการใช้งานและมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในสาขาการปฏิบัติตามประเภทของเรือ/อากาศยาน และตามหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจในหน่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะ ประสบการณ์ทางยุทธวิธีในการตัดสินใจ การบังคับบัญชาสั่งการ ทดสอบความพร้อมของระบบอาวุธประจำเรือและอากาศยาน รวมทั้งให้กำลังพลที่เกี่ยวข้องกับระบบอาวุธดังกล่าวมีความคุ้นเคยในการใช้อาวุธ และมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการดำเนินการฝึก แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ได้แก่ การฝึกและอบรมในท่า เป็นการฝึกในห้องเรียน การฝึกตามสาขาปฏิบัติการทั่วไป การฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองต่าง ๆ, การฝึกในทะเล เป็นการฝึกยิงปืนในทะเล การฝึกตามสาขาปฏิบัติการของกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ และการสรุปผลการฝึก โดยมีกำลังพลเข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย กำลังพลจากกองบัญชาการกองเรือยุทธการ กองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ที่มา : กร.)