สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือนใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงระวังเป็นอันตรายต่อเด็ก
- ผู้ใช้
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(อย.) เผย ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงไม่สามารถฆ่ายุงได้ ผู้ใช้ต้องระวัง
หวั่นอันตรายต่อผู้ใช้และเด็ก แนะปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
สำหรับแบบน้ำมันตะไคร้หอมไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.
ปัจจุบันมีสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุง ได้ออกฤทธิ์ โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พุทธศักราช ๒๕๓๕ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อ วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปีพุทธศักราชบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่เป็นที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยต้องมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้หอมจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแจ้งแล้ว จะมีเลขที่รับแจ้งบนฉลากทับปีพุทธศักราชโดยไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับเลขที่รับแจ้งจาก อย.แล้วได้ที่ http://www.app1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp
(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์)
ปัจจุบันมีสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุง ได้ออกฤทธิ์ โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พุทธศักราช ๒๕๓๕ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อ วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปีพุทธศักราชบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่เป็นที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยต้องมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้หอมจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแจ้งแล้ว จะมีเลขที่รับแจ้งบนฉลากทับปีพุทธศักราชโดยไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับเลขที่รับแจ้งจาก อย.แล้วได้ที่ http://www.app1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp
(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์)