กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
ได้จัดทำบทความทางศีลธรรมและวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นคติธรรมเพื่อให้ข้าราชการ ทหาร
ลูกจ้าง และพนักงานราชการได้รับประโยชน์เกิดความสุขใจจากการฟังการอ่านบทความทาง
ศีลธรรมและวัฒนธรรมในหัวข้อเรื่อง "จมไม่ลง"
คำว่า จมไม่ลง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "เคยทำตัวใหญ่มาแล้ว ทำให้เล็กลงไม่ได้ มักใช้กับคนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับ ก็ยังทำตัวเหมือนเดิม"
สังคมปัจจุบัน การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป จะเป็นไปใน ๒ ลักษณะ คือ เรียบง่ายกับฟุ้งเฟ้อ สำหรับชีวิตที่เรียบง่าย มักจะดำเนินไปในลักษณะสมถะ มักน้อยสันโดษจะใช้จ่ายเงินหรือบริโภคสิ่งใด ก็นึกถึงคุณค่าและความจำเป็นจริง ๆ อีกทั้งใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พอเหมาะกับรายได้ของตนไม่เกินกำลังทรัพย์ที่มี ด้วยพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ทำอะไรตามใจอยาก จนตกอยู่ในอำนาจของวัตถุนิยม คนเช่นนี้ ย่อมมีความสุขและสามารถที่จะสร้างฐานะให้ดีขึ้นได้ ส่วนผู้ที่ฟุ้งเฟ้อทั้งในเรื่องอาหารการบริโภค หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ก็มักจะนึกถึงความโก้หรู ความเด่นดัง หรือความมีหน้ามีตา ซึ่งเกิดมาจากความอยากได้อยากมี อันเป็นตัวตัณหากิเลสครอบงำจิต จึงแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาบำรุงบำเรอตามที่ใจปรารถนา แต่ขาดปัญญาที่จะพิจารณาว่า หากได้กินได้ใช้ในสิ่งนั้นแล้ว มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง เหมาะสมกับฐานะและรายได้ของตนหรือไม่ คนที่ดำเนินชีวิตในลักษณะนี้ มักจะใช้จ่ายเกินตัว บางครั้งต้องกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งนำความทุกข์มาให้จนกลายเป็นคนหมดจดความน่าเชื่อถือ และอาจล้มละลายในที่สุด
การดำเนินชีวิตแบบฟุ้งเฟ้อ เพราะความอยากโก้หรู อยากมีหน้ามีตา แต่ขาดปัญญาที่จะรู้คุณค่า หรือประโยชน์ของการกินและการใช้ จะก่อให้เกิดการใช้จ่ายเกินรายได้ของตนจนกลายเป็นคนมีหนี้สินพะรุงพะรัง อาจทำให้ชีวิตตกอยู่ในลักษณะอาการจมไม่ลงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้ชีวิตมีความสุขและไม่เป็นทุกข์ จึงควรมีความสันโดษ พอใจกับสิ่งที่ตนมี ยินดีกับสิ่งที่ตนได้ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและไม่เกินฐานะ ก็จะช่วยให้พ้นจากชีวิตที่จมไม่ลงได้ กลายเป็นชีวิตที่สดใส มีความสุขทุกเมื่อนั่นเอง (ที่มา : กอศ.ยศ.ทร.)
คำว่า จมไม่ลง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "เคยทำตัวใหญ่มาแล้ว ทำให้เล็กลงไม่ได้ มักใช้กับคนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับ ก็ยังทำตัวเหมือนเดิม"
สังคมปัจจุบัน การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป จะเป็นไปใน ๒ ลักษณะ คือ เรียบง่ายกับฟุ้งเฟ้อ สำหรับชีวิตที่เรียบง่าย มักจะดำเนินไปในลักษณะสมถะ มักน้อยสันโดษจะใช้จ่ายเงินหรือบริโภคสิ่งใด ก็นึกถึงคุณค่าและความจำเป็นจริง ๆ อีกทั้งใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พอเหมาะกับรายได้ของตนไม่เกินกำลังทรัพย์ที่มี ด้วยพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ทำอะไรตามใจอยาก จนตกอยู่ในอำนาจของวัตถุนิยม คนเช่นนี้ ย่อมมีความสุขและสามารถที่จะสร้างฐานะให้ดีขึ้นได้ ส่วนผู้ที่ฟุ้งเฟ้อทั้งในเรื่องอาหารการบริโภค หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ก็มักจะนึกถึงความโก้หรู ความเด่นดัง หรือความมีหน้ามีตา ซึ่งเกิดมาจากความอยากได้อยากมี อันเป็นตัวตัณหากิเลสครอบงำจิต จึงแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาบำรุงบำเรอตามที่ใจปรารถนา แต่ขาดปัญญาที่จะพิจารณาว่า หากได้กินได้ใช้ในสิ่งนั้นแล้ว มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง เหมาะสมกับฐานะและรายได้ของตนหรือไม่ คนที่ดำเนินชีวิตในลักษณะนี้ มักจะใช้จ่ายเกินตัว บางครั้งต้องกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งนำความทุกข์มาให้จนกลายเป็นคนหมดจดความน่าเชื่อถือ และอาจล้มละลายในที่สุด
การดำเนินชีวิตแบบฟุ้งเฟ้อ เพราะความอยากโก้หรู อยากมีหน้ามีตา แต่ขาดปัญญาที่จะรู้คุณค่า หรือประโยชน์ของการกินและการใช้ จะก่อให้เกิดการใช้จ่ายเกินรายได้ของตนจนกลายเป็นคนมีหนี้สินพะรุงพะรัง อาจทำให้ชีวิตตกอยู่ในลักษณะอาการจมไม่ลงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้ชีวิตมีความสุขและไม่เป็นทุกข์ จึงควรมีความสันโดษ พอใจกับสิ่งที่ตนมี ยินดีกับสิ่งที่ตนได้ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและไม่เกินฐานะ ก็จะช่วยให้พ้นจากชีวิตที่จมไม่ลงได้ กลายเป็นชีวิตที่สดใส มีความสุขทุกเมื่อนั่นเอง (ที่มา : กอศ.ยศ.ทร.)