วันนี้ (๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) กองทัพเรือ
ขอเชิญชมการฝึกซ้อมใหญ่ขบวน พยุหยาตราทางชลมารค บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจะเคลื่อนออกจากท่าวาสุกรี ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.
และกำหนดเทียบท่า วัดอรุณราชวรราม ราชวรมหาวิหาร เวลา ๑๖.๐๐
น.
งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ และกำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นกำลังพลและฝีพายประจำเรือพระราชพิธี จำนวน ๒,๒๐๐ นาย รูปกระบวนเรือจัดเป็น ๕ ริ้ว ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ ๘ ลำ ได้แก่ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตรจไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือดั้ง ๒๒ ลำ และเรืออื่น ๆ อีก ๑๘ ลำ ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้
นับเป็นครั้งที่ ๑๗ ที่จัดขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ ชื่อ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย มี นาวาโท ณัฐวัฎ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่ (ที่มา : สลก.ทร.)
งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ และกำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นกำลังพลและฝีพายประจำเรือพระราชพิธี จำนวน ๒,๒๐๐ นาย รูปกระบวนเรือจัดเป็น ๕ ริ้ว ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ ๘ ลำ ได้แก่ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตรจไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือดั้ง ๒๒ ลำ และเรืออื่น ๆ อีก ๑๘ ลำ ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้
นับเป็นครั้งที่ ๑๗ ที่จัดขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ ชื่อ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย มี นาวาโท ณัฐวัฎ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่ (ที่มา : สลก.ทร.)