วันนี้ (๙ สิงหาคม ๒๕๕๕) เวลา ๐๙.๐๙ น.
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี จำนวน ๔
ลำ และเรือรูปสัตว์ จำนวน ๔ ลำ เพื่ออัญเชิญจากคานเรือลงน้ำ ณ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร
กองทัพเรือได้ตรียมการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ ๑๖ ที่จัดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะใช้เรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ และกำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นฝีพายประจำเรือพระราชพิธี จำนวน ๒,๒๐๐ นาย รูปกระบวนเรือจัดเป็น ๕ ริ้ว ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ จำนวน ๔ ลำ ได้แก่ เรือเอกไชยเหินกาว เรืออนุรวายุภักตร์ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือครุฑเหินเห็จ และเรืออื่น ๆ อีก จำนวน ๑๘ ลำ
การบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ ถือเป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันต่อมา เป็นพิธีกรรมในการยอมรับนับถือและให้การคารวะบูชาต่อพระภูมิเจ้าที่ที่ปกปักษ์รักษา ดูแล คุ้มครอง ป้องกันสถานที่นั้น ๆ พิธีกรรมเป็นการสวดอาราธนาบารมีพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพ และเทพพรหมเทวา รวมถึงท้าวจตุมหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศทั่วทั้ง ๔ ลงมาประทับ ณ สถานประกอบพิธีนั้น ๆ พิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ เป็นพิธีที่ชาวเรือมีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า เรือทุกลำมีแม่ย่านางเรือสิงฆ์สถิตอยู่คอยปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดแก่เรือ ก่อนออกเรือทุกครั้ง หรือการนำเรือไปใช้งาน จึงมักกระทำพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือหรือบูชาแม่ย่านางเรือก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อเนื่องมา (ที่มา : สลก.ทร.)
กองทัพเรือได้ตรียมการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ ๑๖ ที่จัดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะใช้เรือพระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ และกำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือเป็นฝีพายประจำเรือพระราชพิธี จำนวน ๒,๒๐๐ นาย รูปกระบวนเรือจัดเป็น ๕ ริ้ว ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ จำนวน ๔ ลำ ได้แก่ เรือเอกไชยเหินกาว เรืออนุรวายุภักตร์ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือครุฑเหินเห็จ และเรืออื่น ๆ อีก จำนวน ๑๘ ลำ
การบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ ถือเป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันต่อมา เป็นพิธีกรรมในการยอมรับนับถือและให้การคารวะบูชาต่อพระภูมิเจ้าที่ที่ปกปักษ์รักษา ดูแล คุ้มครอง ป้องกันสถานที่นั้น ๆ พิธีกรรมเป็นการสวดอาราธนาบารมีพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพ และเทพพรหมเทวา รวมถึงท้าวจตุมหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศทั่วทั้ง ๔ ลงมาประทับ ณ สถานประกอบพิธีนั้น ๆ พิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ เป็นพิธีที่ชาวเรือมีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า เรือทุกลำมีแม่ย่านางเรือสิงฆ์สถิตอยู่คอยปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดแก่เรือ ก่อนออกเรือทุกครั้ง หรือการนำเรือไปใช้งาน จึงมักกระทำพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือหรือบูชาแม่ย่านางเรือก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อเนื่องมา (ที่มา : สลก.ทร.)