วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นักวิชาการจุฬาฯ ยันไม่เกิดสึนามิเร็ว ๆ นี้

      นักวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบ ุ๓๐ ธันวาคม นี้ ไม่เกิด สึนามิในฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ย้ำชาวบ้านอย่าหวั่นวิตกสึนามิ
      ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีมีข่าวที่นักวิชาการออกมาระบุว่าอีก ๒๐ ปี ผลจากภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำแข็งละลายทำให้น้ำ ทะเลท่วมสูงขึ้น ๖ - ๗ เมตร จนส่งผลให้กรุงเทพมหานครและเมืองในภาคกลางจมน้ำทะเล ควรต้องย้ายเมืองหลวงไปอีสาน ว่า เรื่องนี้ถือเป็นการให้ข่าวที่มีความหมิ่นเหม่ทางวิชาการ และสร้างความตื่นตระหนกกับประชาชนในวงกว้าง ทั้งที่บางเรื่องไม่ได้อ้างอิงผลการศึกษาทางวิชาการที่รอบด้าน แต่ก็นำมาพูดในทำนองที่ว่าจะมีผลในทางเลวร้ายมาก จนขณะนี้มีชาวบ้านบางรายเชื่อข่าวถึงกับยอมขายที่ที่ถูกระบุว่า จะถูกน้ำท่วมขังสูงในกรุงเทพมหานคร และไปหาซื้อที่แถวภาคอีสานกัน
      ขณะที่กรณีการระบุว่าในช่วงวันที่ ๓๐ ธันวาคม นี้ จะเกิดสึนามิในฝั่งอันดามัน ก็ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่ยังหวาดกลัวกับสึนามิเมื่อปี ๒๕๔๗ จนแทบไม่ต้องทำอะไรแล้ว ดังนั้น จุฬาฯ จึงต้องระดม นักวิชาการที่เคยศึกษาเรื่องนี้และอ้างอิงบนหลักข้อมูลวิชาการ รวมทั้งนักอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมาตอบคำถามและข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อมูลอีกด้านกับประชาชน
ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า กรณีน้ำทะเลจะท่วมกรุงเทพมหานครนั้น จากการศึกษาและทำแผนที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งงอ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา บางปะกง ระยะทาง ๑๒๐ กิโลเมตร ในพื้นที่ ๕ จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้แผนที่อัตราส่วน ๑ ต่อ ๔,๐๐๐ ภายใต้ปัจจัยจากแผ่นดินทรุดตัวในระดับต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะแถวแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีอัตรา ทรุดตัว ๒๐.๕ มิลลิเมตร ต่อปี และอัตราน้ำทะเลสูง ๑๘ มิลลิเมตร ต่อปี รวมกับปัญหาเขื่อนดักตะกอน ก็ยังพบว่าในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า สัดส่วนของแผ่นดินจะหายไป ๑.๓ กิโลเมตร และภายใน ๕๐ ปี จะหายไป ๒.๓ - ๒.๕ กิโลเมตร และอีก ๑๐๐ ปี จะหายไป ๖ - ๘ กิโลเมตร เท่านั้นหมายความว่าจะไม่ลึกเข้าไปจนถึงกรุงเทพมหานครชั้นใน และเลยไปถึงชัยนาทอย่างที่เป็นข่าว ขณะเดียวกันมีบางพื้นที่ที่อาจจะหายไปกล่าวคือที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพราะมีความเสี่ยงจากปัญหาแผ่นดินทรุดตัวมาก
      สำหรับแผนที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่มีความใหญ่ขนาด ๖ เมตร นี้ มีมาตราส่วนอยู่ที่ ๑ ต่อ ๔,๐๐๐ ซึ่งสามารถดูละเอียดได้ถึงโรงงาน ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ โดยอยู่ใน ขั้นตอนลงรายละเอียดผลกระ ทบเชิงพื้นที่ ในระดับบ้าน ตำบลที่จะได้รับผลกระทบจากกรณีน้ำทะเลท่วมถึง อย่างละเอียดเพื่อให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นข้อมูลในการรับมือในอนาคต คาดวาจะแล้วเสร็จภายในช่วง กลางปี ๒๕๕๔ (ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com)